thzh-CNen
  • ที่มาและความสำคัญของการฝึกอบรม

              ระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นรากฐานสำคัญของระบบสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟู โดยดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มแรกมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในด้านยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพ คือ พัฒนาให้คนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ มีจิตสำนึกสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพในระดับปฐมภูมิ แต่ปัจจุบันยังมีความขาดแคลนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่จะให้บริการและดูแลประชาชนในด้านนี้

             ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (HDC) วันที่ 25 มิถุนายน 2566 พบว่าจังหวัดพัทลุงได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ (complete aged society) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 โดยปัจจุบันมีประชากรรวม 396,221 คน และมีประชากรผู้สูงอายุ 93,751 คน คิดเป็นร้อยละ 23.66 นอกจากนี้ยังพบว่ามีความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งมีสาเหตุจากปัญหาด้านพฤติกรรมการบริโภค ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงในการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย จากปัญหาดังกล่าว ประชากรไทยต้องการบริการทางการแพทย์ที่มีความต่อเนื่อง และดูแลทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม แพทย์ผู้เหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาและให้บริการดังกล่าวได้ คือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งมีบทบาทหลักคือ การให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ (Primary care) แก่บุคคล ครอบครัวและชุมชนที่เน้นความรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuity) ผสมผสาน (Comprehensive) ด้วยแนวคิดแบบองค์รวม (Holistic) ที่พิจารณาทั้งสุขภาพกายและจิตใจ ควบคู่กับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กำหนดกลไกการจัดระบบสุขภาพปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน

            จากที่กล่าวมาทั้งหมด หน่วยงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นการสนองนโยบายสาธารณสุขของประเทศต่อไป

    พันธกิจของสาขา

              ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสากล มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถให้บริการสุขภาพแก่ประชากรทุกกลุ่มวัยอย่างองค์รวม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่นของตนเอง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบบปฐมภูมิของประเทศไทยต่อไป

    มาตรฐานความรู้ความชำนาญของแพทย์เฉพาะทาง

              แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวต้องมีคุณสมบัติและความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้านดังนี้

    1. การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)

    2. ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical Knowledge and Procedural Skills)

    3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

    4. การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-Based Learning and Improvement)

    5. วิชาชีพนิยม (Professionalism)

    6. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-Based Practice)

     

    คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

    เครือข่ายฝึกอบรมโรงพยาบาลพัทลุง

ที่ปรึกษา

123

 พญ.เสริมศรี  ปฐมพาณิชรัตน์

หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ

   234

นพ. ธีรยุทธ์ คงทองสังข์

หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม

ประธานการฝึกอบรม

 

 คณะกรรมการฝึกอบรม

 

 

 

34567

345678

  • ข่าวสารประกาศรับสมัคร
  • ติดต่อเรา
    • กลุ่มงานเวชกรรมสังคม  โทร 074-609500 ต่อ 7653